9. ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
การวัดขนาดมนุษย์ด้วยเครื่องตรวจวัดขนาดรูปร่าง 3 มิติ |
Measurement body segment using 3D body scanner |
น.ส.อรวรรณ ศรีตองอ่อน |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
การศึกษาการวัดขนาดร่างกายของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปัจจุบันยังไม่ละเอียดเพียงพอในการออกแบบอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือในชีวิตประจำวัน จึงประสบปัญหาการใช้งานอุปกรณ์เครื่องมือที่ได้รับการออกแบบมาไม่เหมาะสม
หรือไม่พอดีกับขนาดสัดส่วนร่างกายของคน เช่นชั้นวางเครื่องมือที่สูงเกินเอื้อมมือไปหยิบของไม่สะดวก เก้าอี้ที่นั่งเตี้ยเกินไปซึ่งเวลานั่งแล้วทำให้รู้สึกอึดอัด และไม่เอื้อต่อความสบายในการนั่งทำงาน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาการออกแบบไม่ได้เอาปัจจัยมนุษย์ในแง่ของขนาดสัดส่วนร่างกายเข้าไปร่วมการพิจารณา การออกแบบพอเหมาะสมหรือการออกแบบอุปกรณ์เพื่อใช้กับสัดส่วนร่างกายมนุษย์กลุ่มหนึ่ง แต่นำไปใช้กับอีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งนี้เพราะเราไม่มีข้อมูลของขนาดร่างกายมาเพื่ออกแบบอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับนักศึกษา ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญของการวัดขนาดสัดส่วนร่างกายเพื่อเป็นมาตรฐาน
ขนาดสัดส่วนร่างกายของนักศึกษา เพื่อนำขนาดสัดส่วนร่างกายไปใช้ในการออกแบบเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะสม |
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดขนาดสัดส่วนของร่างกายของนักศึกษาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 36 สัดส่วนโดยใช้เครื่องตรวจวัดขนาดรูปร่าง 3 มิติ (3D Body Scanner)จากตัวอย่างสุ่มนักศึกษาชายจํานวน 200 คน มีค่าเฉลี่ยของอายุ เป็น 21(? 4.0) ปีผู้ถูกทดสอบทั้งหมดนี้มีสุขภาพและขนาดร่างกายปกติ การวัดขนาดสัดส่วนของร่างกายโดยใช้โปรแกรมดังกล่าวเริ่มต้นจากการให้ผู้ถูกทดสอบเข้าไปในเครื่อง3D Body Scanner และแสกน จากนั้นวัดขนาดมือและเท้า ด้วยแอนโทรโพรมิเตอร์ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้เข้าโปรแกรม Rapid Form วัดขนาดทั้งหมด 36 สัดส่วนของแต่ละคนทำตารางข้อมูลขนาดร่างกาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 5, 10, 25, 50, 75, 90 และ95 ได้ทำการจำแนกอายุในช่วงอายุตั้งแต่ 1725 ปีหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดจากนั้นได้ทําการเปรียบเทียบขนาดร่างกายของนักศึกษาที่ได้จากงานวิจัยนี้กับผลงานวิจัยอื่นภายในประเทศโดยใช้ค่าสถิติ Z ผลการทดสอบพบว่านักศึกษาที่วัดครั้งนี้มีแนวโน้มขนาดร่างกายโตขึ้นจากอดีตอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เช่น ความสูงยืน ความสูงนั่ง ผลการเปรียบเทียบขนาดร่างกายของนักศึกษาที่ได้จากงานวิจัยนี้กับผลงานวิจัยต่างประเทศ ได้แก่ชายสิงคโปร์ ซึ่งผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ขนาดร่างกายของชายไทยมีขนาดเล็กกว่าชายสิงคโปร์อย่างมีนัยสําคัญ (p<0.05) เช่น ความสูงท่ายืนและความลึกอก |
งานวิจัยเสร็จสมบูรณ์ |